ABOUT APMC

PROJECT BACKGROUND

โครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียนเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนภายหลังจากการลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์เมื่อปี พ.ศ. 2519  ประเทศไทยโดยกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอให้โครงการนี้เป็นโครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN INDUSTRIAL PROJECT) ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2532 โครงการมีจุดประสงค์ที่จะดำเนินการทำเหมืองและโรงแต่งแร่โพแทชที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เพื่อผลิตปุ๋ยให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง ต่อมาได้มีการจัดตั้ง บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด(APMC)

เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยมีกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 29 รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลังร้อยละ 20%  โดยที่เหลืออีกร้อยละ 51 เป็นของภาคเอกชน จากนั้นได้มีการพัฒนาโครงการโดยเจาะสำรวจแหล่งแร่ ขุดอุโมงค์ ทำเหมืองทดลองใต้ดิน ศึกษาด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

การดำเนินโครงการได้ชะลอมาระยะหนึ่งเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและรัฐบาลในปี 2543 โดยกระทรวงการคลังได้วางนโยบายที่ชัดเจนให้หาผู้ร่วมลงทุนเอกชนมาเป็น Strategic Investor อีกทั้งยังต้องรอพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำเหมืองใต้ดินซึ่งเพิ่งประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2546 อีกด้วย

   
เมื่อปี พ.ศ. 2547 บริษัทฯได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในนาม บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) พร้อมกับได้ผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ ต่อมาได้ดำเนินการยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่โพแทช พื้นที่รวมประมาณ 9,707 ไร่ ในเขตท้องที่ตำบลบ้านตาล ตำบลบ้านเพชร และตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

 

 

 
เมื่อปี พ.ศ. 2554 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศเปิดพื้นที่ตามมาตรา 6ทวิ บริเวณพื้นที่คำขอประทานบัตร หลังจากนั้นมาบริษัทฯ จึงสามารถเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการขอประทานบัตร โดยได้ดำเนินการรังวัดขึ้นรูปแผนที่ ปิดประกาศ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ประทานบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว