โครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียนเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์ระบุความร่วมมือ ทางด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมีพื้นฐานว่าด้วยโครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project-AIP) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน 6 ประเทศร่วมลงนามในสัญญา Basic Agreement on ASEAN Industrial Project และตามข้อตกลงกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
ปัจจุบันกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับความช่วยเหลือในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมอาเซียนแล้ว คือ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบให้โครงการทําเหมืองแร่โปแตชที่อําเภอบําหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นโครงการอุตสาหกรรมอาเซียนของ ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตปุ๋ยโปแตชปีละประมาณ 1 ล้านตัน รวมระยะเวลา 30 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งองค์กรผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย เพื่อเข้าร่วมทุนจัดตั้ง “บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน” เพื่อให้เป็นองค์กรนิติบุคคลเข้ามาดําเนิน โครงการ และให้บริษัทฯเข้าไปดําเนินการในพื้นที่เขตของโครงการฯ
ซึ่งถูกกําหนดให้เป็นเขตพื้นที่สํารวจ ศึกษา ทดลอง วิจัยแร่ ตามพ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 6 ทวิ ได้ในฐานะตัวแทนของกรมทรัพยากรธรณี จนกว่าบริษัทฯจะได้รับประทานบัตรในบริเวณของโครงการฯ กระทรวงอุตสาหกรรมในนามรัฐบาลแห่งประเทศไทยลงนามใน Joint Venture Agreement ร่วมกับรัฐบาลและผู้ทําการแทนในนามผู้แทนรัฐบาล 5 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ดารุสซาราม
(1) บริษัท ร่วมทุนโปแตชอาเซียน จํากัด (APHC) เป็นบริษัทที่รวมผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย เพื่อเข้าถือหุ้นในบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จํากัด
(2) บริษัท เหมืองโปแตชอาเซียน จํากัด (APMC) จัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินโครงการทําเหมืองแร่โปแตชอาเซียนฯ โดยมีผู้ถือหุ้น 6 ราย ได้แก้ ฝ่ายไทย ร้อยละละ 71 (ในนาม APHC: กระทรวงการคลัง ร้อยละละ 20 และภาคเอกชน ร้อยละละ 51) ประเทศอาเซียน 5 ประเทศ ถือหุ้นรวมร้อยละละ 29 (ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละละ 13 มาเลเซีย ร้อยละละ 13 ฟิลิปปินส์ ร้อยละละ 1 สิงคโปร ร้อยละละ 1 และบรูไน ดารัสซาลาม ร้อยละละ 1)
คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเงินลงทุนของโครงการฯ ทั้งสิ้นประมาณ 544 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแยกเป็นทุนเรือนหุ้นประมาณ 163.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินกู้ประมาณ 380.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีมติอนุมัติให้กระทรวงอุตสาหกรรมหารือกับกระทรวงการคลังจัดหาเงินทั้งในส่วนที่เป็นเงินทุนเรือนหุ้นที่ รัฐบาลเข้าร่วมทุน (ร้อยละละ 20) และเงินกู้ตามแผนประมาณค่าใช้จ่ายในการลงทุนโดยขอกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล (OECF)
รัฐบาลญี่ปุ่นได้แจ้งเรื่องการจัดสรรเงินกู้สําหรับโครงการทําเหมืองแร่โปแตชว่าจะจัดสรรเงินกู้จากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล (OECF) สําหรับในส่วนการทําเหมืองแร่โปแตชและสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ในส่วนของโรงงานผลิตปุ๋ยโปแตชจะให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้ผ่านธนาคารเพื่อการส่งออก และนําเข้า (EXIM BANK) ของญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไม่สามารถค้ําประกันเงินกู้ให้กับโครงการ
ต่อมากระทรวงการคลัง มีหนังสือแจ้งผ่านทางกระทรวงอุตสาหกรรมให้โครงการฯ จัดหาผู้ร่วมทุนภาคเอกชนเข้ามาเป็น Strategic Investor โดยบริหารจัดการ เพื่อนําไปสู่การเป็นบริษัทมหาชนในอนาคต
บริษัทฯ ได้ดําเนินการก่อสร้างอุโมงค์แนวเอียงเพื่อเข้าสู่ชั้นแร่ที่ความลึก 180 เมตร จากพื้นดินได้แล้วเสร็จในปี 2541 เพื่อดําเนินการทําเหมือง ทดลองใต้ดินจํานวน 3 ห้องแร่ สําหรับติดตั้งเครื่องมือตรวจสอบความแข็งแรงของเหมือง ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีผลเป็นที่นาพอใจและยืนยันว่าการทําเหมือง ทดลองใต้ดินตามแนวทางการออกแบบของบริษัทฯ มีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบการทําเหมืองด้วยวิธีห้องสลับเสาค้ํายัน (Room and Pillar) ซึ่งเป็นวิธีการทําเหมืองใต้ดินที่มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
บริษัทฯได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในนาม บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จํากัด (มหาชน) และได้ดําเนินการยื่นคําขอประทานบัตรทําเหมืองใต้ดินต่อ ฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สํานักอุตสาหกรรมจังหวัดชัยภูมิ เลขทะเบียนคําขอที่ 1/2547 ในพื้นที่ดําเนินโครงการ 9,708 ไร่ เขตท้องที่ตําบลบ้านตาล ตําบลบ้านเพชร และตําบลหัวทะเล อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ แต่เนื่องจากพื้นที่ที่ขอประทานบัตรดังกล่าว เป็นพื้นที่ ที่กรมทรัพยากรธรณี ได้ประกาศเป็นพื้นที่สําหรับดําเนินการสํารวจ ทดลอง ศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามมาตรา 6 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 จึงยังไม่สามารถดําเนินการตามขั้นตอนการให้ประทานบัตรได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เปิดพื้นที่ตามมาตรา 6 ทวิ จํานวน 2,500 ไร่ให้แก่ APMC ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการ ดําเนินโครงการ และไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลการขอกู้เงินเพื่อดําเนินโครงการฯได้ เนื่องจากไม่คุ้มค่าการลงทุน
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 3/2552 ได้อนุมัติการคัดเลือกผู้ร่วมทุนรายใหม่ตามที่ฝ่ายบริหารจัดการของบริษัทฯ เสนอคือ บริษัท ไทยเยอรมันไมนิ่ง จํากัด (TGM)
บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญา Share Subscription Agreement (SSA) กับ TGM และได้ชําระค่าหุ้นเป็นคราวๆ ไป โดยในสัญญา SSA ได้กําหนด เงื่อนไขให้ TGM และผู้ถือหุ้นรายอื่นให้สิทธิและออกเสียงแก่กระทรวงการคลังในกรณีหากมีการเพิ่มทุน ทั้งนี้เพื่อให้กระทรวงการคลังรักษาสัดส่วนการถือหุ้น ให้ไม่น้อยกว่าร้อยละละ 20
กระทรวงการคลังได้แปลงหนี้เป็นทุนแล้วเสร็จจํานวน 1,547,400 หุ้นที่ราคาพาร หรือ 100 บาทต่อหุ้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศเปิดพื้นที่ตามมาตรา 6 ทวิ วรรคสอง เนื้อที่ประมาณ 26 ตารางกิโลเมตร บริษัทฯ จึงดําเนินการ
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ (EIA)
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2554 วันที่ 28 มิถุนายน 2554 มีมติอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนจาก 2,226.66 ล้านบาท เป็น 1,270.76 ล้านบาท และอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 2,805.80 ล้านบาท พรอมจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจํานวน 15,982,000 หุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 100 บาท ให้กับ บุคคลในวงจํากัด 2 ราย คือ กระทรวงการคลัง และ บริษัท ไทย-เยอรมัน ไมนิ่ง จํากัด
บริษัทฯ ได้รับอนุญาตประทานบัตรทําเหมืองใต้ดินเลขที่ 31708/16118 (แบบแร่ ๕ ก) จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทําเหมืองใต้ดิน ที่ตําบล บ้านตาลและหัวทะเล อําเภอบําเหน็จณรงค จังหวัดชัยภูมิ
บริษัทฯ เปลี่ยนชื่อจากบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จํากัด (มหาชน) เป็น “บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จํากัด (มหาชน)” (ASEAN Potash Chaiyaphum Public Company Limited หรือ “APOT”)
บริษัทฯ ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนสนับสนุนการมีส่วนร่วมตรวจสอบการทําเหมืองใต้ดิน ของบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จํากัด (มหาชน)
บริษัทฯ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย (ครั้งที่ 1) ในการกําหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสําหรับโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียน
บริษัทฯ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย (ครั้งที่ 2) ต่อร่างรายงานและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสําหรับโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียน
บริษัทฯ เปิดประมูลเพื่อคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ 2 Package คือ
1) EPCC Package 1: Underground Mining (เหมืองแร่ใต้ดิน)
2) EPCC Package 2: Processing Plant & Facilities (การก่อสร้างโรงแต่งแร่ สาธารณูปโภค และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ บนดิน)
บริษัทฯ ได้รับชําระค่าหุ้นเพิ่มทุนจากบริษัท ไทย-เยอรมัน ไมนิ่ง จํากัด ที่ได้ทยอยชําระค่าหุ้นเพิ่มทุนตามที่ได้รับการจัดสรรครบทั้งหมดจํานวน 13,344,400 หุ้น คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,067.53 ล้านบาท
บริษัทฯ คัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการงานบนดิน หรือ Turnkey Delivery of APOT Project Package 2. Surface Processing and Facilities มูลค่างานประมาณ 33,372 ล้านบาท และ Limited Notice to Proceed ให้ผู้รับเหมางาน Early Work ในส่วนงานด้านวิศวกรรมโรงแต่งแร่ งานปรับปรุง และสํารวจพื้นที่ มูลค่างานประมาณ 711 ล้านบาท
บริษัทฯ แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อช่วยดําเนินการจัดหาเงินทุนและเงินกู้ในการพัฒนาโครงการ และแต่งตั้งที่ปรึกษาที่มีความชํานาญ ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านกฎหมาย เพื่อช่วยสนับสนุนเจ้าหนี้สถาบันการเงินในการสอบทานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอย่างครอบคลุมทุกด้าน
กระทรวงการคลังพิจารณาการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนของรัฐบาลไทยในโครงการอาเซียนโปแตช (ประเทศไทย) บริษัทฯ สรรหาผู้ร่วมทุนที่มีศักยภาพ ที่มีฐานะและมีแหล่งเงินทุนที่ชัดเจนที่สามารถลงทุนในบริษัทฯอย่างต่อเนื่องจนโครงการสร้างแล้วเสร็จ
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2566 รับทราบแผนการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อพัฒนาโครงการ และมีมติอนุมัติการลดและเพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 20,805,797,300 บาทและทุนที่ชําระแล้ว 3,256,727,300 บาท
คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเห็นชอบและอนุมัติแผนการใช้จ่ายเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนในวงเงิน 450 ล้านบาท