การจัดการสิ่งแวดล้อม

การลดระดับของผิวดิน

การลดระดับของผิวดิน เป็นสิ่งที่โครงการเหมืองแร่โพแทชอาเซียนคำนึงถึงและให้ความสำคัญ

เป็นอย่างยิ่งโดยมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ

 

ทางโครงการได้ตระหนักถึงผลกระทบการลดระดับของผิวดินจากการทำเหมือง โดยโครงการได้ศึกษาวิธีลดผลกระทบดังกล่าวตั้งแต่เริ่มการออกแบบการทำเหมือง โดยได้ทำการศึกษาและทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของแร่โปแตชและค่าความแข็งแรงทางกลศาสตร์ของหิน โดยส่งตัวอย่างแร่โปแตชของโครงการไปทำการทดสอบยังประเทศเยอรมนี ผลที่ได้ทำให้ทราบว่าการออกแบบการทำเหมืองของโครงการมีค่าความปลอดภัยมากกว่า 100% (Safety Factor >1)

ก่อนที่จะเริ่มทำเหมืองทดลองในปี พ.ศ. 2542 ทางโครงการฯได้ติดตั้งสถานีเฝ้าระวังการลดระดับของผิวดินบริเวณตำแหน่งพื้นที่เหมืองทดลองบนผิวดินและทำการเฝ้าติดตามรังวัดเก็บข้อมูล โดยค่าระดับของผิวดินที่วัดได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบัน พบว่าค่าการลดระดับของผิวดินไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่บนผิวดินในบริเวณพื้นที่เหมืองทดลองดังกล่าว

มาตรการป้องกันผลกระทบ

● ออกแบบการทำเหมืองและระบบการค้ำยันให้เกิดความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากลและเป็นวิธีการที่ทำกันอย่างแพร่หลายและได้รับการยอมรับกันทั่วโลก โดยที่ผ่านมาทางโครงการได้ดำเนินการตรวจวัดการทรุดตัวของผิวดินบริเวณที่ทำเหมืองทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีผลกระทบจากการลดระดับของผิวดินอันเนื่องมาจากการทำเหมืองทดลองแต่อย่างใด

● นำหางแร่ลงไปถมกลับในช่องเหมืองใต้ดิน เพื่อช่วยลดพื้นที่กองหางแร่บนผิวดินและยังช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงให้แก่อุโมงค์ใต้ดิน

● ติดตั้งระบบติดตามตรวจสอบการเคลื่อนตัวของอุโมงค์ใต้ดินที่ได้มาตรฐาน

● เฝ้าระวังการเคลื่อนตัวของผิวดินที่เกิดจากการทำเหมือง เช่น

     -  ติดตั้งเครื่องมือวัดการยืดตัวของมวลหินในหลุมเจาะ เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนรูปของหลังคาอุโมงค์และตรวจสอบว่าเสาค้ำยันมีการบวมตัวมากน้อยเพียงใด

     -  ติดตั้งเครื่องมือวัดการยุบตัวของห้องอุโมงค์ (Convergence meter)  

     -  ติดตั้งอุปกรณ์วัดความเครียดโดยตรง

     -  ติดตั้ง Microseismic detector ประกอบด้วยเครื่องรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนขนาดเล็กที่มีความไวสูง โดยจะติดตั้งบนผิวดินบริเวณพื้นที่ทำเหมือง ในหลุมเจาะและในอุโมงค์เหมืองใต้ดิน